วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม



     นครโฮจิมินห์
เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและบริการ การนำเข้าส่งออก การลงทุนและเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมของนานาชาติ โดยมี ท่าอากาศยานนานาชาติ Tan Son Nhat และมีท่าเรือ Saigon Port ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ


     นครเกิ่นเธอ
เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่สำคัญ และเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

บาเรีย – หวุงเต่า
เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ โดยเวียดนามสามารถผลิตน้ำมันได้มากที่สุด ในคาบสมุทรอินโดจีน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เรียกว่า “Bac Ho” หรือ “White Tiger”


     นครไฮฟอง
เป็นเมืองท่าสำคัญในภาคเหนือและเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี ต่อเรือ และวัสดุก่อสร้าง มีท่าเรือสำคัญคือ Hai Phong Port และสนามบิน Cat Bi Airport


     กว๋างนินห์
เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม มีท่าเรือสำคัญ ได้แก่ Hon Gai Port เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและเป็นแหล่งถ่านหินใหญ่ที่สุดในประเทศ


     นครดานัง
เป็นศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยว และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติ Da Nang และมีท่าเรือ Tien Sa Seaport

ที่มา: http://61.47.41.107/

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศเวียดนาม




ทรัพยากรที่สำคัญของเวียดนาม  คือเกษตรกรรมมีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
 อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย


ที่มา: https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของเวียดนาม


1
  
      ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่

       เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็น เทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ ในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย

      เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน
หรือบันตรังทู ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ จะมีการเฉลิมฉลองกับขนมเค้กสำหรับเด็กและครอบครัวของพวกเขาที่ดูดวงจันทร์ ขบวนของโคมไฟและโคมไฟ ดวงจันทร์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับความเจริญรุ่งเรือง; ในช่วงเทศกาลจะมีกล่องเค้กในรูปร่างของดวงจันทร์
(Banh Trung พฤ.) เพื่อเพื่อนและครอบครัว ในเวลากลางคืนเด็กจะเดินขบวนในถนนร้องเพลงในขณะที่ส่งมอบโคมไฟจีนสีในมือ โคมไฟ เหล่านี้จีนมีเทียนที่ส่องสว่างสวยงามตามท้องถนน

     มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป

     วายัง กูลิต (Wayang Kilit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการ แสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วย หนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง

     ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหล มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด

     ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการ ให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุม ศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่ง ให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง

1

ที่มา: http://www.ceted.org/

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม


มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991

13643767489448




ที่มา; https://praewasri.wordpress.com

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศเวียดนาม


ประเทศเวียดนาม เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย (Ha Noi)


กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม

ฮานอยเดิมเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนามเหนือ เมื่อเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะในสงครามเวียดนามและได้รวมเวียดนามใต้เข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว จึงสถาปนาให้ฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศ (เดิมเมืองหลวงของเวียดนามใต้คือไซง่อน หรือเมืองโฮจิมินห์ในปัจจุบัน) กรุงฮานอยก็เช่นเดียวกับเมืองหลวงอื่นๆในอาเซียนที่เป็นเมืองใหญ่และเมืองสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูยน์กลางการเมืองการปกครองของประเทศ แต่ในประเทศเวียดนามนั้น เมืองที่ใหญ่ที่สุดในด้านการค้า การลงทุน การอุตสาหกรรมและการขนส่งทางทะเลคือเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติเวียดนาม


สัตว์ประจำชาติเวียดนาม

ควาย หรือ กระบือ (Buffalo) สัตว์ประจำชาติเวียดนาม
ควาย นอกจากเป็นสัตว์ประจำชาติอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์แล้ว ยังเป็นสัตว์ประจำชาติเวียดนามอีกด้วย เนื่องจากชาวเวียดนามสมัยก่อนส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก โดยมักจะปลูกข้าวจึงจำเป็นต้องใช้ควายในการช่วยไถนา พบได้ทั่วไปในทางภาคใต้ของประเทศ และนอกจากควายแล้ว ประเทศอาเซียนอย่างเวียดนามยังมีมังกรและเสือโคร่งเป็นสัตว์ประจำชาติอีกด้วยค่ะ

ควายเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและมีแกนสันหลังแข็งแรง ชาวอาเซียนหลายคนย่อมทราบดีแน่แท้ว่า มันเป็นสัตว์เพื่อเกิดมาคู่กับการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะงานเกษตรกรรมของประเทศเอเชียบ้านเราหลากหลายประเทศ นอกจากเป็นสัตว์ที่ชาวนามักนิยมเลี้ยงไว้สำหรับเป็นแรงงานทั้งในการทำไร่นาแล้ว ยังใช้เพื่อการขนส่งสิ่งของหรือใช้เป็นพาหนะ เมื่อควายอายุมากขึ้นก็จะถูกฆ่าเพื่อนำเนื้อของมันมากินเป็นอาหาร เรียกได้ว่าควายหรือกระบือนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่คู่ชาวนามาทุกยุคสมัยและแทบจะทุกประเทศอาเซียนเลยก็ว่าได้ ควายจึงเป็นสัตว์ที่นับว่ามีประโยชน์หลายด้าน ทว่าปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทต่อชีวิตคนเราให้เอื้อต่อการดำรงชีพได้ง่ายดายมากขึ้น ควายจึงถูกนำมาใช้งานน้อยลง

ส่วนลักษณะรูปร่างนั้น ควายเป็นสัตว์สี่ขา มีเท้าเป็นกีบ ลำตัวจะใกล้เคียงกับวัว เติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 5-8 ปี ผิวของมันสีเทาถึงดำ แต่บางตัวจะมีบ้างที่เป็นสีชมพู ซึ่งเราเรียกกันว่า ควายเผือก นอกจากนี้ มันยังมีเขาโดยปลายเขาของมันจะโค้งเป็นวงคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งนั่นก็คือ เอกลักษณ์ของมันที่มีความโดดเด่นในบรรดาสัตว์ตัวใหญ่ชนิดต่าง ๆ


ที่มา : https://sites.google.com


ตราแผ่นดินประเทศเวียดนาม


   

    



ตราแผ่นดินของเวียดนาม เวียดนาม: QUỐC HUY NƯỚC CỘNG HOÀ XÃ HỘI CHỦ NGHĨA VIỆT NAM มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าวหมายถึงความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์[1] มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออกและตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน                                                                                                          พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณะ

ประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้

           ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคม

เวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติ
เวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม[1]
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน
ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยเหวียนฮิ้วเทียน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้วย


ที่มา: https://sites.google.com