เวียดนามมีรูปแบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมการผูกขาดและรวมศูนย์ที่รัฐบาลกลาง นับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา และรัฐบาลเริ่มใช้นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ “โด่ย เหมย” (Doi Moi) เพื่อลดการผูกขาด รวมทั้งความพยายามในการเปิดประเทศ โดยการเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) และองค์การการค้าโลก (WTO) ประกอบกับความพยายามในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีความเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2543 – 2552) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7.0 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2552 มีอัตราเพิ่มร้อยละ 5
ในปี พ.ศ. 2550 มีรายได้ต่อหัว 547.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2549 ถึงร้อยละ 36.9
ที่จากเดิมในปี 2549 ที่มีรายได้ต่อหัว 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่ารายได้ต่อหัวของเวียดนามจะอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
ทั้งนี้เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ในรอบ 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี เวียดนามมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในอัตราร้อยละ 5 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเป็นอัตราการปรับใหม่ของรัฐบาลตามระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังประสบกับภาวะวิกฤติ และในรอบเวลาเดียวกันนี้ เวียดนามมีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 22.5
ทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีความเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2543 – 2552) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7.0 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2552 มีอัตราเพิ่มร้อยละ 5
ในปี พ.ศ. 2550 มีรายได้ต่อหัว 547.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2549 ถึงร้อยละ 36.9
ที่จากเดิมในปี 2549 ที่มีรายได้ต่อหัว 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่ารายได้ต่อหัวของเวียดนามจะอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
ทั้งนี้เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ในรอบ 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี เวียดนามมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในอัตราร้อยละ 5 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเป็นอัตราการปรับใหม่ของรัฐบาลตามระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังประสบกับภาวะวิกฤติ และในรอบเวลาเดียวกันนี้ เวียดนามมีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 22.5
ที่มา: http://www.boi.go.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น