วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

ศาสนาประเทศเวียดนาม



ศาสนาประจำประเทศเวียดนาม

ศาสนาเวียดนาม

ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม จึงมีพื้นฐานด้านจิตใจที่อุดมและลุ่มลึกทั้งยังยอมรับนับถือลิทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า และศานาคริสต์นิกายคาทอลิก อย่างไรก็ดี เวียดนาม ไม่มีศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญเวียดนามบัญญัติให้ประชาชนมีเสรี ในการเลือกนับถือศาสนา แต่เมื่อจีนปกครองเวียดนามได้นำลัทธิขงจื้อเข้ามาเผยแพร่ รวมทั้งลัทธิการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน ทำให้ชาวเวียดนามรับเอาประเพณีการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเวียดนาม นอกจากนั้นชาวเวียดนามยังนับถือลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามอีกจำนวนมากที่เคารพบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อถือแต่ครั้งโบราณกาล



• ประชากรเวียดนามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์

• วัดและเจดีย์เวียดนาม สะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของการดำรงค์ชีวิตทั้งในด้านสังคม การเมืองและศาสนา หมู่บ้านเวียดนามแต่ละแห่งจะมีที่ตั้งของวัดประจำหมู่บ้าน

• สกุลเงิน สกุลเงินของเวียตนามคือ ดอง อัตราแลกเปลี่ยน 420-460 ดอง ต่อ 1 บาท

ศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอริก

ศาสนาดังกล่าวได้แผ่เข้าสู่เวียดนามกว่า 300 ปี มาแล้ว จากการศึกษาพบว่า คนที่เข้ามาเผยแพร่หลักคำสอน คือบาตรหลวงจากยุโรป เดินทางมาอาศัยอยู่ตอนกลางของประเทศเวียดนาม ปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ตาม กิจกรรมด้านการเผยแพร่ศาสนายังมีปัญหาและประสบกับความยากลำบากอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นยังมีชาวเวียดนามที่นับถือ ประมาณ ร้อยะ 7 ของประชากรทั้งหมด

ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแต้น

ประมาณก่อนปี 1911 ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแต้นได้รับอิสระในกิจกรรมการเผยแพร่หลักคำสอนในเวียดนาม ประมาณปลายศตวรรษที่ 19 มีบาตรหลวงที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแต้นจำนวนมากตั้งใจจะเข้ามาปักหลักเผยแพร่ศาสนาในประเทศเวียดนาม แต่ในระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของอาณานิคมฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงไม่อนุญาตในการเผยแพร่ศาสนา

ศาสนาอิสลาม

กิจกรรรมในการเผยแพร่ศาสนาเป็นไปอย่างราบรื่นในเวียดนาม ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้าสู่เวียดนามประมาณ ศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตาม ชาวจามที่อาศัยอยู่ในจังหวัด อันซาง (An Giang) ยังคงเคร่งครัดในหลักคำสั่งสอน แต่ชาวจามที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัด นิง ถ่วน (Ninh Thuan ) และจังหวัด บิง ถ่วน (Binh Thuan) นั้นไม่ได้เคร่งครัดเหมือนที่จังหวัด อันซาง เนื่องจากมีศาสนาอิสลามได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นไปค่อนข้างมาก

นอกจากศาสนาได้กล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องกล่าวถึงลัทธิ ฮวา ห่าว (Hoa Hao)และ ลัทธิกาว ด่าย (Cao Dai) ทั้งสองลัทธิความเชื่อนี้เป็นความเชื่อในท้องถิ่นของชาวเวียดนาม ลัทธิ ฮวา ห่ามถูกก่อตั้งในปี 1939 และรับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในเขตฝั่งตะวันตกของภาคใต้ เวียดนาม ส่วนลัทธิกาว ด่าย ได้เกิดขึ้ในปี 1926 ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในตอนกลางทางภาคใต้ของเวียดนามและที่ราบสูงตะวันตกของประเทศเวียดนาม


ที่มา: https://sites.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น