วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม



     นครโฮจิมินห์
เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าและบริการ การนำเข้าส่งออก การลงทุนและเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมของนานาชาติ โดยมี ท่าอากาศยานนานาชาติ Tan Son Nhat และมีท่าเรือ Saigon Port ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ


     นครเกิ่นเธอ
เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่สำคัญ และเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

บาเรีย – หวุงเต่า
เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ โดยเวียดนามสามารถผลิตน้ำมันได้มากที่สุด ในคาบสมุทรอินโดจีน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เรียกว่า “Bac Ho” หรือ “White Tiger”


     นครไฮฟอง
เป็นเมืองท่าสำคัญในภาคเหนือและเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี ต่อเรือ และวัสดุก่อสร้าง มีท่าเรือสำคัญคือ Hai Phong Port และสนามบิน Cat Bi Airport


     กว๋างนินห์
เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม มีท่าเรือสำคัญ ได้แก่ Hon Gai Port เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและเป็นแหล่งถ่านหินใหญ่ที่สุดในประเทศ


     นครดานัง
เป็นศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยว และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติ Da Nang และมีท่าเรือ Tien Sa Seaport

ที่มา: http://61.47.41.107/

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศเวียดนาม




ทรัพยากรที่สำคัญของเวียดนาม  คือเกษตรกรรมมีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
 อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย


ที่มา: https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของเวียดนาม


1
  
      ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่

       เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็น เทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ ในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย

      เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน
หรือบันตรังทู ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ จะมีการเฉลิมฉลองกับขนมเค้กสำหรับเด็กและครอบครัวของพวกเขาที่ดูดวงจันทร์ ขบวนของโคมไฟและโคมไฟ ดวงจันทร์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับความเจริญรุ่งเรือง; ในช่วงเทศกาลจะมีกล่องเค้กในรูปร่างของดวงจันทร์
(Banh Trung พฤ.) เพื่อเพื่อนและครอบครัว ในเวลากลางคืนเด็กจะเดินขบวนในถนนร้องเพลงในขณะที่ส่งมอบโคมไฟจีนสีในมือ โคมไฟ เหล่านี้จีนมีเทียนที่ส่องสว่างสวยงามตามท้องถนน

     มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป

     วายัง กูลิต (Wayang Kilit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการ แสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วย หนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง

     ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหล มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด

     ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการ ให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุม ศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่ง ให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง

1

ที่มา: http://www.ceted.org/

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม


มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991

13643767489448




ที่มา; https://praewasri.wordpress.com

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศเวียดนาม


ประเทศเวียดนาม เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย (Ha Noi)


กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม

ฮานอยเดิมเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนามเหนือ เมื่อเวียดนามเหนือได้รับชัยชนะในสงครามเวียดนามและได้รวมเวียดนามใต้เข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว จึงสถาปนาให้ฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศ (เดิมเมืองหลวงของเวียดนามใต้คือไซง่อน หรือเมืองโฮจิมินห์ในปัจจุบัน) กรุงฮานอยก็เช่นเดียวกับเมืองหลวงอื่นๆในอาเซียนที่เป็นเมืองใหญ่และเมืองสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูยน์กลางการเมืองการปกครองของประเทศ แต่ในประเทศเวียดนามนั้น เมืองที่ใหญ่ที่สุดในด้านการค้า การลงทุน การอุตสาหกรรมและการขนส่งทางทะเลคือเมืองโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติเวียดนาม


สัตว์ประจำชาติเวียดนาม

ควาย หรือ กระบือ (Buffalo) สัตว์ประจำชาติเวียดนาม
ควาย นอกจากเป็นสัตว์ประจำชาติอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์แล้ว ยังเป็นสัตว์ประจำชาติเวียดนามอีกด้วย เนื่องจากชาวเวียดนามสมัยก่อนส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก โดยมักจะปลูกข้าวจึงจำเป็นต้องใช้ควายในการช่วยไถนา พบได้ทั่วไปในทางภาคใต้ของประเทศ และนอกจากควายแล้ว ประเทศอาเซียนอย่างเวียดนามยังมีมังกรและเสือโคร่งเป็นสัตว์ประจำชาติอีกด้วยค่ะ

ควายเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและมีแกนสันหลังแข็งแรง ชาวอาเซียนหลายคนย่อมทราบดีแน่แท้ว่า มันเป็นสัตว์เพื่อเกิดมาคู่กับการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะงานเกษตรกรรมของประเทศเอเชียบ้านเราหลากหลายประเทศ นอกจากเป็นสัตว์ที่ชาวนามักนิยมเลี้ยงไว้สำหรับเป็นแรงงานทั้งในการทำไร่นาแล้ว ยังใช้เพื่อการขนส่งสิ่งของหรือใช้เป็นพาหนะ เมื่อควายอายุมากขึ้นก็จะถูกฆ่าเพื่อนำเนื้อของมันมากินเป็นอาหาร เรียกได้ว่าควายหรือกระบือนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่คู่ชาวนามาทุกยุคสมัยและแทบจะทุกประเทศอาเซียนเลยก็ว่าได้ ควายจึงเป็นสัตว์ที่นับว่ามีประโยชน์หลายด้าน ทว่าปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทต่อชีวิตคนเราให้เอื้อต่อการดำรงชีพได้ง่ายดายมากขึ้น ควายจึงถูกนำมาใช้งานน้อยลง

ส่วนลักษณะรูปร่างนั้น ควายเป็นสัตว์สี่ขา มีเท้าเป็นกีบ ลำตัวจะใกล้เคียงกับวัว เติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 5-8 ปี ผิวของมันสีเทาถึงดำ แต่บางตัวจะมีบ้างที่เป็นสีชมพู ซึ่งเราเรียกกันว่า ควายเผือก นอกจากนี้ มันยังมีเขาโดยปลายเขาของมันจะโค้งเป็นวงคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งนั่นก็คือ เอกลักษณ์ของมันที่มีความโดดเด่นในบรรดาสัตว์ตัวใหญ่ชนิดต่าง ๆ


ที่มา : https://sites.google.com


ตราแผ่นดินประเทศเวียดนาม


   

    



ตราแผ่นดินของเวียดนาม เวียดนาม: QUỐC HUY NƯỚC CỘNG HOÀ XÃ HỘI CHỦ NGHĨA VIỆT NAM มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าวหมายถึงความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์[1] มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออกและตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน                                                                                                          พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณะ

ประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้

           ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคม

เวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติ
เวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม[1]
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน
ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยเหวียนฮิ้วเทียน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้วย


ที่มา: https://sites.google.com

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

อาหารประจำชาติเวียดนาม




แหนมหรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม

แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม ทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน





เฝอ

เฝอ เป็นก๋วยเตี๋ยวของชาวเวียดนามที่พัฒนามาจากการทำก๋วยเตี๋ยวของจีน เฝอมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวของไทยแต่ต่างกันที่เส้น น้ำซุป และเครื่องเคียง และบางครั้งก็เรียกเป็น ก๋วยเตี๋ยวเวียดนาม หรือ ก๋วยจั๊บเวียดนาม



ที่มา: https://sites.google.com

ชุดประจำชาติประเทศเวียดนาม

   อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็น ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับ
กางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน
ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน
หรือพิธีศพ



        อ่าวหญ่าย



ที่มา:https://sites.google.com

ศาสนาประเทศเวียดนาม



ศาสนาประจำประเทศเวียดนาม

ศาสนาเวียดนาม

ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม จึงมีพื้นฐานด้านจิตใจที่อุดมและลุ่มลึกทั้งยังยอมรับนับถือลิทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า และศานาคริสต์นิกายคาทอลิก อย่างไรก็ดี เวียดนาม ไม่มีศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญเวียดนามบัญญัติให้ประชาชนมีเสรี ในการเลือกนับถือศาสนา แต่เมื่อจีนปกครองเวียดนามได้นำลัทธิขงจื้อเข้ามาเผยแพร่ รวมทั้งลัทธิการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน ทำให้ชาวเวียดนามรับเอาประเพณีการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเวียดนาม นอกจากนั้นชาวเวียดนามยังนับถือลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามอีกจำนวนมากที่เคารพบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อถือแต่ครั้งโบราณกาล



• ประชากรเวียดนามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์

• วัดและเจดีย์เวียดนาม สะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของการดำรงค์ชีวิตทั้งในด้านสังคม การเมืองและศาสนา หมู่บ้านเวียดนามแต่ละแห่งจะมีที่ตั้งของวัดประจำหมู่บ้าน

• สกุลเงิน สกุลเงินของเวียตนามคือ ดอง อัตราแลกเปลี่ยน 420-460 ดอง ต่อ 1 บาท

ศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอริก

ศาสนาดังกล่าวได้แผ่เข้าสู่เวียดนามกว่า 300 ปี มาแล้ว จากการศึกษาพบว่า คนที่เข้ามาเผยแพร่หลักคำสอน คือบาตรหลวงจากยุโรป เดินทางมาอาศัยอยู่ตอนกลางของประเทศเวียดนาม ปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ตาม กิจกรรมด้านการเผยแพร่ศาสนายังมีปัญหาและประสบกับความยากลำบากอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นยังมีชาวเวียดนามที่นับถือ ประมาณ ร้อยะ 7 ของประชากรทั้งหมด

ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแต้น

ประมาณก่อนปี 1911 ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแต้นได้รับอิสระในกิจกรรมการเผยแพร่หลักคำสอนในเวียดนาม ประมาณปลายศตวรรษที่ 19 มีบาตรหลวงที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแต้นจำนวนมากตั้งใจจะเข้ามาปักหลักเผยแพร่ศาสนาในประเทศเวียดนาม แต่ในระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของอาณานิคมฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงไม่อนุญาตในการเผยแพร่ศาสนา

ศาสนาอิสลาม

กิจกรรรมในการเผยแพร่ศาสนาเป็นไปอย่างราบรื่นในเวียดนาม ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้าสู่เวียดนามประมาณ ศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตาม ชาวจามที่อาศัยอยู่ในจังหวัด อันซาง (An Giang) ยังคงเคร่งครัดในหลักคำสั่งสอน แต่ชาวจามที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัด นิง ถ่วน (Ninh Thuan ) และจังหวัด บิง ถ่วน (Binh Thuan) นั้นไม่ได้เคร่งครัดเหมือนที่จังหวัด อันซาง เนื่องจากมีศาสนาอิสลามได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นไปค่อนข้างมาก

นอกจากศาสนาได้กล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องกล่าวถึงลัทธิ ฮวา ห่าว (Hoa Hao)และ ลัทธิกาว ด่าย (Cao Dai) ทั้งสองลัทธิความเชื่อนี้เป็นความเชื่อในท้องถิ่นของชาวเวียดนาม ลัทธิ ฮวา ห่ามถูกก่อตั้งในปี 1939 และรับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในเขตฝั่งตะวันตกของภาคใต้ เวียดนาม ส่วนลัทธิกาว ด่าย ได้เกิดขึ้ในปี 1926 ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในตอนกลางทางภาคใต้ของเวียดนามและที่ราบสูงตะวันตกของประเทศเวียดนาม


ที่มา: https://sites.google.com

ภูมิศาสตร์เเละภูมิอากาศประเทศเวียดนาม


ภูมิศาสตร์ ประเทศเวียดนามมีลักษณะคล้ายตัว “s” ขนาดใหญ่ที่ยาวเหยียด โดยกินบริเวณไปตาม ความยาว ของคาบสมุทรอินโดจีน ตลอดแนวพรมแดนมีความยาว 3,730 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ บริเวณแผ่นดินทั้งหมดของเวียดนามมีพื้นที่ราว 327,500 ตารางกิโลเมตร นอกจาก นั้นอาณาเขตของประเทศยังรวมไปถึงพื้นที่ในทะเลอันกว้างใหญ่ ไพศาล ไม่ว่าจะเป็นไหล่ทวีปขนาดใหญ่ หรือหมู่เกาะ นับพันที่วางทอดยาวจากอ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าว ไทย บริเวณที่กว้างที่สุดของประเทศอยู่ทางภาคเหนือมีระยะทาง 600 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดระยะ ทาง 50 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศที่มีความยาว 1650 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้และภูมิอากาศมรสุมเขต ร้อน ทำให้อุณหภูมิและอัตราฝนตกแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิและอัตราฝนตกแตกต่างกัน ไปตามแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิในภาคเหนืออาจลงต่ำถึง 10 องศา และมีลมหนาวจัด ภาคมต้ร้อนตลอดทั้งปี และมีสภาวะ อากาศแบบมรสุมภาคเหนือมี 2 ฤดู คือฤดูหนาวและฤดูร้อน ฤดูเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนชื้นีฝนตกมาก ฤดูหนาวปกติจะแห้งและหนาวจัด ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีฝนตากประ ปราย ภาคกลางจากดานัง ถึงยาตรังมีลักษณะอากาศที่แตกต่างออกไปเนื่องจากมีมรสุม ฤดูแล้งเริ่มตั้ง แต่เดือน มกราคม ถึงเดือนกันยายน มีฝน ตกตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนมกราคม ภาคใต้มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ฝนจะเริ่มตกเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน ระหว่างนี้ จะมีฝนตกหนักราววันละ 20 หรือ30 นาทีนตอนบ่ายหรือตอนเย็น ลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลาย เดือนเมษายนอากาศ ร้อนจัด อุณหภูมิ 30 องศากว่าต้นๆ มีอัตราความชื้นสูง ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคมถึงเดือนเมษายน


ที่มา: http://www.gustotour.com/

ประชากรประเทศเวียดนาม


ประชากร 


มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 86,116,559 คน ซึ่งเกือบ 90% เป็นชาวเวียดนามซึ่งมีถิ่นอาศัยดั้งเดิมอยู่แถบ ตอนใต้ของจีนและ ทางด้านตอนเหนือประเทศเวียดนาม ชนกลุ่มน้อยในประเทศเวียดนามมี อยู่ประมาณ 10% ของประชากรทั่ว ทั้งประเทศกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวจีนประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศ สำหรับชน กลุ่มน้อยที่ใหญ่รองลงมาก็คือชาวเขา ซึ่งแบ่งออกเป็น 30 เผ่า ชนกลุ่มน้อยอันดับที่สาม คือชาวเขมร มีประมาณ 600,000 คน


ที่มา:http://www.gustotour.com/

เศรษฐกิจประเทศเวียดนาม



เวียดนามมีรูปแบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมการผูกขาดและรวมศูนย์ที่รัฐบาลกลาง นับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา และรัฐบาลเริ่มใช้นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ “โด่ย เหมย” (Doi Moi) เพื่อลดการผูกขาด รวมทั้งความพยายามในการเปิดประเทศ โดยการเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) และองค์การการค้าโลก (WTO) ประกอบกับความพยายามในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีความเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2543 – 2552) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7.0 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2552 มีอัตราเพิ่มร้อยละ 5

ในปี พ.ศ. 2550 มีรายได้ต่อหัว 547.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2549 ถึงร้อยละ 36.9
ที่จากเดิมในปี 2549 ที่มีรายได้ต่อหัว 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่ารายได้ต่อหัวของเวียดนามจะอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ทั้งนี้เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ในรอบ 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี เวียดนามมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในอัตราร้อยละ 5 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเป็นอัตราการปรับใหม่ของรัฐบาลตามระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังประสบกับภาวะวิกฤติ และในรอบเวลาเดียวกันนี้ เวียดนามมีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 22.5
 


ที่มา: http://www.boi.go.th/

อาชีพและสินค้าส่งออกในประเทศเวียดนาม


   
    ประชากรเวียดนามประมาณ 80% ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว (ข้าวเจ้า) ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย
(ปี 2006 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน)
ทำการประมง เช่น จับปลา ปลาหมึก กุ้ง
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ การทอผ้า
การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ (เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ถัดจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย) มีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลญูนนาน ประเทศจีน

    สินค้าส่งออกหลักของไทยไปเวียดนาม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
สินค้านำเข้าหลักของไทยจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าเหล็กและเหล็กกล้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ด้ายและเส้นใย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้ำมันดิบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เคมีภัณฑ์ ถ่านหิน และเครื่องมือ วิทยาศาสตร์การแพทย์

    สินค้าส่งออกของเวียดนาม เช่น ไม้ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนังและรองเท้า สินค้าเกษตรและของป่า เช่น ข้าว กาแฟ ยางพารา แล้วยังมีสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูง คือ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และอะไหล่ ซึ่งได้ช่วย เพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศ


ตลาดส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น จีน
ตลาดนำเข้าที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ สิงคโปร์ จีน ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย

ที่มา:http://www.ceted.org/

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ภาษาประจำชาติเวียดนาม

ภาษาเวียดนาม


       เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นัก ภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก
ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ภาษาที่มีจำนวนคนพูด เป็นอันดับรองลงมา คือ (ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษา เวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนาม ได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "อักษรจื๋อโนม"
แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส
โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต์


ที่มา:http://www.ceted.org/

วัฒธรรมประเทศเวียดนาม



ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม



      แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรทางการเมืองสูงสุด แต่เวียดนามนับเป็นประเทศหนึ่งในคาบสมุทรอินโดจีนที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน และยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวเวียดนาม

      เวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้มีความเชื่อ ศิลปะ
วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจีน ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของจีนได้แพร่ขยายมายังเวียดนามด้วย ทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว แม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีนักบวชในศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ได้
อีกทั้งพลเมืองส่วนหนึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมสืบทอดมาจน ถึงปัจจุบัน

      ชาวเวียดนามยังมีความนับถือสวรรค์หรือที่เรียกว่า "องเตร่ย (Ong Troi)" และเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ
(จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ นอกจากนี้ คำสอนของขงจื๊อก็ยังคงอิทธิพลอยู่ในเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ

ที่มา:http://www.boi.go.th/

ระบอบการปกครองประเทศเวียดนาม


ลักษณะการปกครอง


เวียดนามเป็นประเทศสังคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม Communist Party of Vietnam – CPV) ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการร่างกฎหมายและปกครองทั่วไป ประธานาธิบดีทำหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐ การทหาร และการรักษาความสงบภายในประเทศ และมีสถาบันที่สำคัญคือ รัฐบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยสถาแห่งชาติ โดยมีวาระ 5 ปี เวียดนามแบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เขตเมือง หรือเรียกว่า นคร (Can Tho , Da Nang , Hai Phong , Ha Noi , Ho Chi Minh)

การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่
กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน
กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่ สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ
กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิด กว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก



ที่มา: http://61.47.41.107/

แหล่งท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม

1. อ่าวฮาลอง (Ha Long Bay)

อ่าวฮาลอง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพ จนยูเนสโกต้องยกย่องให้เป็นมรดกโลก อ่าวนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม และอยู่ไม่ห่างจากเขตแดนของประเทศจีนมากนัก จุดเด่นของอ่าวนี้ คือ มีเกาะหินปูนโผล่ขึ้นกระจาย ๆ ทั่วอ่าว ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1,500 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ ยังได้รับคำชื่นชมจากนักท่องเที่ยวว่ามีบรรยากาศที่สวยงามเกินจริง เสมือนฉากในตอนจบของภาพยนตร์ซึ่งมีแสง สี ที่ลงตัวสุด ๆ เลยทีเดียว




2. พระราชวังทังลอง (Imperial Citadel of Thang Long)

สถานที่แห่งนี้เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นด้วยหินทั้งหมด ซึ่งเป็นสมบัติของราชวงศ์ Ho และถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1379 แต่ยังคงหลงเหลือโครงสร้างให้เห็นในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม เพราะเป็นราชวังหินแห่งเดียวหลงเหลืออยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงถูกยกย่องให้เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างโดยใช้เทคโนโลยีในแบบสมัยก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าพิศวงว่าคนสมัยนั้นสามารถสร้างพระราชวังที่งดงามอย่างนี้ได้อย่างไร



6. ปราสาทหมีเซิน (My Son Sanctuary)

ปราสาทหมีเซินเป็นสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือมาจากอาณาจักรจามปาหรือช่วงศตวรรษที่ 4-15 สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมของฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในอินโดจีน ในอดีตปราสาทแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับบูชาพระศิวะ นอกจากตัวปราสาทแล้วยังมีรูปปั้น วัด และถูกห้อมล้อมไปด้วยป่าดงดิบ ในสมัยก่อนมีสิ่งก่อสร้างโบราณกว่า 70 หลัง แต่ในช่วงสงครามเวียดนามโบราณสถานฮินดูนี้ถูกระเบิดตกใส่ไปหลายแห่ง จนปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 22 หลังเท่านั้น และที่สำคัญได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอีกด้วย






ที่มา:http://travel.kapook.com/view71662.html